วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ประวัติของการสำรวจ

ประวัติของการสำรวจ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย Administrator   
พฤหัสบดี, 28 กุมภาพันธ์ 2008
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่จะหาได้ในปัจจุบัน ระบุว่าศาสตร์ของการสำรวจได้เริ่มขึ้นในประเทศอียิปต์ Herodotus กล่าวว่า Sesostris (ประมาณ 1,400 ปีก่อนคริสต์ศักราช) ได้แบ่งที่ดินของประเทศอียิปต์ออกเป็นผืน ๆ เพื่อประโยชน์ในการเก็บภาษี แต่บางส่วนของที่ดินที่อยู่ตามฝั่งแม่น้ำไนท์ถูกน้ำท่วมชะหายไปทุกปี จึงได้มีการมอบหมายหน้าที่ในการสำรวจซ่อมแซมหลักเขตที่ดินให้แก่นักสำรวจซึ่งในสมัยนั้นเรียกว่า “ผู้ขึงเชือก” (rope stretcher) นักสำรวจสมัยนั้นใช้เชือกซึ่งทำเป็นปุ่มเอาไว้แล้วแบ่ง 12 ช่วง ออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ ให้ช่วงแรกยาว 3 ปุ่ม ช่วงที่สองยาว 4 ปุ่ม และช่วงที่สามยาว 5 ปุ่ม ดังนั้นเชือกนี้สามารถใช้ในการวัดระยะทางและออกฉากโดยใช้หลัก 3-4-5 นอกจากเชือกแล้วยังพบไม้ที่ใช้สำหรับวัดระยะทางด้วย ณ ที่ฝังศพ (tomb) ที่เมือง Thebes ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 1,400 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีผู้มาพบภาพเขียนบนฝาผนังแสดงถึงคนสองคนถือเชือกกำลังวัดระยะในทุ่งธัญญพืชอยู่
          ต่อมาชาวกรีกได้พัฒนาวิชาเรขาคณิต (geometry) ขึ้น ชื่อนี้มาจากศัพท์กรีก geo ซึ่งแปลว่าดิน กับคำว่า metry ซึ่งแปลว่าการวัด ซึ่งจะเห็นว่าวิชานี้ได้พัฒนามาจากการวัดที่ดินนั่นเอง แต่ชาวกรีกเป็นนักคิดไม่ได้เป็นนักปฏิบัติ ดังนั้นชาวกรีกจึงได้มีนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงมากมาย ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ก็ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากในยุคนี้ แต่ความรู้ในด้านการสำรวจไม่ได้รับการพัฒนาขึ้นเท่าที่ควร มีเครื่องมือสำรวจที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง ประดิษฐ์โดย Heron ซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง Alexandria ระหว่าง 150-100 ก่อนคริสต์ศักราช ชื่อว่า diopter ซึ่งได้อธิบายวิธีใช้เครื่องมือในหนังสือ “The Dioptra” ซึ่งกล่าวถึงการสำรวจพื้นที่ การเขียนแบบแปลน และการคำนวณต่าง ๆ ผลงานของ Herson ได้ถูกใช้อ้างอิงโดยนักสำรวจชาวกรีกและชาวอียิปต์ต่อมาเป็นเวลาหลายปี
          ศิลปในการรังวัดได้ถูกพัฒนาอย่างจริงจังโดยชาวโรมัน ซึ่งเป็นนักปฏิบัติหนังสือเกี่ยวกับการสำรวจที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในระยะนั้น ได้แก่หนังสือที่แต่งโดย Frontinus แม้ว่าต้นฉบับได้สูยหายไปแต่ฉบับที่ได้คัดลอกมาก็ได้รับการดูแลรักษาเอาไว้ Frontinus มีชีวิตอยู่ในคริสต์สักราชที่ 1 เป็นผู้บุกเบิกในงานสำรวจยุคนี้และผลงานของเขาได้ถูกยึดถือเป็นมาตรฐานโดยชนรุ่นหลังเป็นเวลาหลายปี 
         ความสามารถในด้านวิศวกรรมของชาวโรมันได้แสดงออกให้เห็นทางสิ่งก่อสร้างซึ่งได้ถูกก่อสร้างขึ้นมากมายทั่วราชอาณาจักร การสำรวจในระยนี้มีความสำคัญมากถึงขนาดได้มีการรวมกลุ่มเป็นชมรมนักสำรวจ (surveyor’s guild) ขึ้น
         ในยุคกลาง (Middle Ages) ระหว่างคริสต์ศักราชที่ 1000 และ 1400 ซึ่งความเจริญได้ย้ายมาอยู่ในชุมชนชาวอาหรับ ศาสตร์ของการสำรวจได้มีการพัฒนาน้อยมาก 
         ในศตวรรษที่ 13 Von Piso ได้เขียนหนังสือชื่อ “Practica Geometria” ซึ่งมีเรื่องราวเกี่ยวกับการสำรวจอยู่ด้วย นอกจากนี้เขายังเขียนหนังสือ Liber Quardratorum ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า quadrans ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมกรอบทำด้วยทองเหลืองบนแท่งสี่เหลี่ยมจะมีมุมฉากและมาตราส่วนอย่างอื่นหมายเอาไว้ เครืองมือสำรวจชนิดอื่น ๆ ที่ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยนี้กีมี astrolabe ซึ่งเป็นแผ่นโลหะกลมมีเข็มชี้ติดอยู่ตรงกลางและมีห่วงสำหรับมือยึดถือยึดต่อไว้ทางด้านบนของเครื่องมือ (ตามประวัติเครื่องมือชนิดนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาก่อนโดยชาวกรีกเมื่อคริสต์ศักราชที่ 2 ซึ่งใช้สำหรับวัดหามุมของดวงดาวซึ่งทำกับแนวขอบฟ้า)
          ในศตวรรษที่ 18 และ 19 ศิลปการสำรวจได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมาก ความจำเป็นในการทำแผนที่และการกำหนดเส้นเขตแดนของประเทศทำให้ประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสได้ทำการสำรวจในพื้นที่กว้างขวางและจำเป็นต้องมีการวางโครงข่ายสามเหลี่ยม (Triangulation) geodetic surveying จึงได้ถือกำเนิดมา การที่มูลค่าที่ดินได้สูงขึ้นและความจำเป็นในการกำหนดขอบเขตให้แน่นอน ประกอบกับสังคมโดยทั่ว ๆ ไปเจริญขึ้น มีการสร้างถนนหนทางที่ทันสมัย รวมทั้งการสร้างทางรถไฟและมีการขุดคลอง ทำให้การสำรวจมีความสำคัญเด่นขึ้นมากขึ้นในระยะนี
ปัจจุบันการสำรวจได้รับการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะเครื่องมือในการสำรวจได้รับการประดิษฐ์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างมากมายในสมัยนี้

ความหมายของการรังวัดหรือการสำรวจ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย Administrator   

ุกลุ่มงานที่เกี่ยวเนื่องและทีมงานให้คำปรึกษา งานโยธา ดังนี้


ARJSTUDIO.com

www.arjstudio.com

Civil And Structural Engineers Co.,Ltd

www.casethai.com/


Athena Siam Limited

www.athenasiamltd.com/



หลักการวิเคราะห์ปัจจัยการเลือกซื้อบ้านจัดสรร

drsamaihemman.blogspot.com/
การรังวัดหรือการสำรวจ (Surveying) เป็นศิลปการหาความสัมพันธ์ของตำแหน่งของสิ่งต่าง ๆ บนพื้นผิวหรือใต้ผิวลงไป โดนอาศัยการวัดระยะทางราบ (distance) ทิศทาง (direction) และระดับความสูง (elevation) การรังวัดซึ่งเกี่ยวข้องกับการวัดความสัมพันธ์ของความสูงของจุดต่าง ๆ บนพื้นผิวโลก เรียกว่า การทำระดับ (levelling)

ชนิดของการสำรวจ PDF พิมพ์ อีเมล์
เขียนโดย Administrator   
พฤหัสบดี, 28 กุมภาพันธ์ 2008
ชนิดของการสำรวจสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.7.1 การสำรวจที่ดิน(Land Surveying) อาจแบ่งย่อย ๆ ได้อีก
          1. การสำรวจที่ดิน(Land Surveying) เป็นการสำรวจเพื่อกำหนดขอบเขตที่แน่นอนของที่ดินที่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ การคำนวณพื้นที่ การสำรวจวิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ชนิดหนึ่ง
          2. การรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดิน (Cadastral Surveying) หรือการสำรวจเฉพาะแปลงที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการสำรวจที่ดินในเมืองและในที่ชนบท เพื่อวัตถุประสงค์ในการกำหนดแนวเขตและรายละเอียดต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างถูกต้อง ตามสิทธิการครอบครอง เพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน งานด้านการสำรวจนี้หมายถึง การสำรวจที่ดินของรัฐ เขตของเทศบาล การที่รัฐจะออกโฉนดที่ดินให้ได้นั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฏหมายอยู่มาก
          3 การสำรวจเพื่อวางผังเมือง (City Surveying) เป็นการสำรวจเพื่อวางผังสิ่งต่างๆ ในบริเวณเมือง เช่น การจัดแบ่งที่ดินออกเป็นเขต (zone) ต่าง ๆ การวางถนน การวางท่อประปา ท่อระบายน้ำ ฯลฯ
ในปัจจุบันคำว่า city surveying มีความหมายกว้างออกไปรวมถึงการรังวัดพื้นที่ในตัวเมืองหรือใกล้ตัวเมือง เพื่อวางหมุดหลักเขตที่แน่นอน กำหนดเขตที่แน่อนและหารูปร่างลักษณะของพื้นดินศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดิน (land use) ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อการวางผังเมือง
1.7.2การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง (Construction Surveying)
          เป็นการสำรวจที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม ในข้อนี้รวมหมายถึงงานสำรวจชนิดต่าง ๆ ที่วิศวกรและสถาปนิกเกี่ยวข้องด้วย
          1. การสำรวจเส้นทาง (Route Surveying) เป็นการสำรวจเพื่อวางแนวทางสำหรับงานด้านวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม เพื่อประโยชน์ทางด้านขนส่งหรือการคมนาคม เส้นทางในที่นี้หมายถึงทางหลวงแผ่นดิน ทางรถไฟ คลองทางระบายน้ำ ท่อประปา และการวางสายศักย์ส่งสูง
          2. การสำรวจเหมืองแร่ (Mine Surveying) มีความจำเป็นต่อการกำหนดตำแหน่งของงานทำเหมืองใต้ดิน หรือบนดินทั้งหมด โดยอาศัยหลักการของการสำรวจที่ดิน สำรวจภูมิประเทศ สำรวจแนวทาง ทั้งนี้เพื่อกำหนดตำแหน่งและทิศทางของอุโมงค์ ปล่อง และกำหนดอาณาเขตที่แน่นอน ตามสิทธิครอบครอง ตามคำขอเพื่อประกอบกิจการ
1.7.3 การสำรวจเพื่อทราบรายละเอียด (Information Surveying)
         การสำรวจส่วนมากมีความมุ่งหมายเพื่อทำแผนที่และแผนภูมิ โดยเฉพาะกำหนดหมุดบังคับต่าง ๆ ซึ่งแยกกันอยู่บนผิวดิน การสำรวจดังกล่าวอำนวยประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางในหลาย ๆ ด้าน คือ การจัดที่ดินของรัฐ การจัดทำแผนที่บริเวณป่าสงวน การทำแผนที่จำแนกประเภทที่ดิน ป่าไม้ การทำแผนที่เส้นทางเดินเรือบริเวณชายฝั่งทะเล แม่น้ำ การทำแผนที่แสดงทรัพยากรธรณีในที่ต่างๆ ทั่วทั้งประเทศ ทำแผนที่ประเทศ
          1. การสำรวจภูมิประเทศ (Topographic Surveying) เป็นการสำรวจลักษณะของภูมิประเทศเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ (topographic map) ซึ่งการสำรวจชนิดนี้เป็นการหาลักษณะความกว้างยาวและสูงต่ำ (3 มิติ) ของภูมิประเทศ ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นแล้วแทนความสูงต่ำของภูมิประเทศเหล่านั้นด้วยเครื่องหมายแทนความสูง (relief representation) คือเส้นชั้นความสูง(contour) เส้นลายขวานสับ (hachures) การแรเงา (shading) การเน้นเส้นให้หนัก (form lines) การแยกสี (coloring) และภาพจำลอง (models)
         2. การสำรวจทางอุทกศาสตร์ (Hydrographic Surveying) มีความจำเป็นต่อการทำแผนที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่เบื้องล่างของท้องคลอง ทะเลสาบ ท่าเรือ ลักษณะบนริมฝั่งทะเล วัดความเร็วของกระแสน้ำ ปริมาณของน้ำที่ไหลมาต่อเวลาหนึ่ง ๆ ระดับน้ำสูงขึ้นสูงสุดหรือลงต่ำสุด ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือ การประปา แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือการก่อสร้างเขื่อน ฝายขวางลำน้ำ เป็นต้น
         3. การสำรวจทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Surveying or Photogrammetry) เป็นการทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ วิธีการแบบนี้นับเป็นก้าวใหม่ในการสำรวจทำแผนที่ ซึ่งอำนวยประโยชน์ให้หลายประการและหลาย ๆ ด้านของการสำรวจที่กล่าวมาแล้ว สามารถทำแผนที่ได้อย่างรวดเร็ว และในบริเวณกว้าง วิธีการแบบนี้ทำได้โดยการถ่ายภาพด้วยกล้องชนิดที่ออกแบบพิเศษ โดยถ่ายจากเครื่องบินหรือจากจุดหนึ่งจุดใดบนพื้นดิน เมื่อได้รูปถ่ายมาแล้วก็นำรูปถ่ายนั้นมาทำเป็นภาพถ่ายต่อ (mosaic) หรือนำภาพถ่ายเหล่านี้มาเขียนเป็นแผนที่ โดยใช้เครื่องเขียนแผนที่จากภาพถ่ายหรือใช้ในการแปลภาพถ่ายก็ได้
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น