ชนิดของการสำรวจสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1.7.1 การสำรวจที่ดิน(Land Surveying)
อาจแบ่งย่อย ๆ ได้อีก
1. การสำรวจที่ดิน(Land
Surveying)
เป็นการสำรวจเพื่อกำหนดขอบเขตที่แน่นอนของที่ดินที่มีผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่
การคำนวณพื้นที่ การสำรวจวิธีนี้เป็นวิธีเก่าแก่ชนิดหนึ่ง
2.
การรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดิน (Cadastral Surveying)
หรือการสำรวจเฉพาะแปลงที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการสำรวจที่ดินในเมืองและในที่ชนบท
เพื่อวัตถุประสงค์ในการกำหนดแนวเขตและรายละเอียดต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างถูกต้อง
ตามสิทธิการครอบครอง เพื่อออกหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน งานด้านการสำรวจนี้หมายถึง
การสำรวจที่ดินของรัฐ เขตของเทศบาล การที่รัฐจะออกโฉนดที่ดินให้ได้นั้น
จะต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการทางกฏหมายอยู่มาก
3
การสำรวจเพื่อวางผังเมือง (City Surveying) เป็นการสำรวจเพื่อวางผังสิ่งต่างๆ
ในบริเวณเมือง เช่น การจัดแบ่งที่ดินออกเป็นเขต (zone) ต่าง ๆ การวางถนน
การวางท่อประปา ท่อระบายน้ำ ฯลฯ
ในปัจจุบันคำว่า city surveying
มีความหมายกว้างออกไปรวมถึงการรังวัดพื้นที่ในตัวเมืองหรือใกล้ตัวเมือง
เพื่อวางหมุดหลักเขตที่แน่นอน
กำหนดเขตที่แน่อนและหารูปร่างลักษณะของพื้นดินศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดิน (land use)
ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อการวางผังเมือง
1.7.2การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง
(Construction Surveying)
เป็นการสำรวจที่เกี่ยวกับงานวิศวกรรม
และสถาปัตยกรรม ในข้อนี้รวมหมายถึงงานสำรวจชนิดต่าง ๆ
ที่วิศวกรและสถาปนิกเกี่ยวข้องด้วย
1. การสำรวจเส้นทาง (Route
Surveying) เป็นการสำรวจเพื่อวางแนวทางสำหรับงานด้านวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม
เพื่อประโยชน์ทางด้านขนส่งหรือการคมนาคม เส้นทางในที่นี้หมายถึงทางหลวงแผ่นดิน
ทางรถไฟ คลองทางระบายน้ำ ท่อประปา และการวางสายศักย์ส่งสูง
2.
การสำรวจเหมืองแร่ (Mine Surveying)
มีความจำเป็นต่อการกำหนดตำแหน่งของงานทำเหมืองใต้ดิน หรือบนดินทั้งหมด
โดยอาศัยหลักการของการสำรวจที่ดิน สำรวจภูมิประเทศ สำรวจแนวทาง
ทั้งนี้เพื่อกำหนดตำแหน่งและทิศทางของอุโมงค์ ปล่อง และกำหนดอาณาเขตที่แน่นอน
ตามสิทธิครอบครอง ตามคำขอเพื่อประกอบกิจการ
1.7.3 การสำรวจเพื่อทราบรายละเอียด
(Information
Surveying)
การสำรวจส่วนมากมีความมุ่งหมายเพื่อทำแผนที่และแผนภูมิ
โดยเฉพาะกำหนดหมุดบังคับต่าง ๆ ซึ่งแยกกันอยู่บนผิวดิน
การสำรวจดังกล่าวอำนวยประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางในหลาย ๆ ด้าน คือ
การจัดที่ดินของรัฐ การจัดทำแผนที่บริเวณป่าสงวน การทำแผนที่จำแนกประเภทที่ดิน
ป่าไม้ การทำแผนที่เส้นทางเดินเรือบริเวณชายฝั่งทะเล แม่น้ำ
การทำแผนที่แสดงทรัพยากรธรณีในที่ต่างๆ ทั่วทั้งประเทศ ทำแผนที่ประเทศ
1. การสำรวจภูมิประเทศ (Topographic Surveying)
เป็นการสำรวจลักษณะของภูมิประเทศเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ (topographic map)
ซึ่งการสำรวจชนิดนี้เป็นการหาลักษณะความกว้างยาวและสูงต่ำ (3 มิติ) ของภูมิประเทศ
ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นแล้วแทนความสูงต่ำของภูมิประเทศเหล่านั้นด้วยเครื่องหมายแทนความสูง
(relief representation) คือเส้นชั้นความสูง(contour) เส้นลายขวานสับ (hachures)
การแรเงา (shading) การเน้นเส้นให้หนัก (form lines) การแยกสี (coloring)
และภาพจำลอง (models)
2. การสำรวจทางอุทกศาสตร์ (Hydrographic
Surveying) มีความจำเป็นต่อการทำแผนที่ชายฝั่งทะเล พื้นที่เบื้องล่างของท้องคลอง
ทะเลสาบ ท่าเรือ ลักษณะบนริมฝั่งทะเล วัดความเร็วของกระแสน้ำ
ปริมาณของน้ำที่ไหลมาต่อเวลาหนึ่ง ๆ ระดับน้ำสูงขึ้นสูงสุดหรือลงต่ำสุด ฯลฯ
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการเดินเรือ การประปา แหล่งน้ำธรรมชาติ
หรือการก่อสร้างเขื่อน ฝายขวางลำน้ำ เป็นต้น
3.
การสำรวจทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Surveying or Photogrammetry)
เป็นการทำแผนที่จากรูปถ่ายทางอากาศ วิธีการแบบนี้นับเป็นก้าวใหม่ในการสำรวจทำแผนที่
ซึ่งอำนวยประโยชน์ให้หลายประการและหลาย ๆ ด้านของการสำรวจที่กล่าวมาแล้ว
สามารถทำแผนที่ได้อย่างรวดเร็ว และในบริเวณกว้าง
วิธีการแบบนี้ทำได้โดยการถ่ายภาพด้วยกล้องชนิดที่ออกแบบพิเศษ
โดยถ่ายจากเครื่องบินหรือจากจุดหนึ่งจุดใดบนพื้นดิน
เมื่อได้รูปถ่ายมาแล้วก็นำรูปถ่ายนั้นมาทำเป็นภาพถ่ายต่อ (mosaic)
หรือนำภาพถ่ายเหล่านี้มาเขียนเป็นแผนที่
โดยใช้เครื่องเขียนแผนที่จากภาพถ่ายหรือใช้ในการแปลภาพถ่ายก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น